ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม2-สุขสวัสดิ์

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุบางนา พระราม 2 สุขสวัสดิ์ พักฟื้นหลังผ่าตัด ทำกายภาพบำบัดและดูแลโดยพยาบาลวิชาชีพ ราคายุติธรรม


Leave a comment

ศูนย์แลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์ ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุ

food

 

ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุ

 

 มิใช่ปัญหาที่พบเฉพาะในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่อยู่ในระดับกว้าง พบได้ในคนทุกเพศ ทุกวัย ส่วนใหญ่มักมีอาการที่ไม่รุนแรง ผู้ที่มีปัญหาท้องผูกมักจะดำเนินวิธีการแก้ไขในรูปแบบที่แตกต่างกันไป เช่น การหาอาหารหรือผลไม้บางชนิดมารับประทาน แล้วทำให้มีการถ่ายอุจจาระออกมา

ใช้ยาหรือน้ำสบู่สวนทวาร ทำให้อุจจาระนิ่มหรืออ่อนตัวลง แล้วทำให้ขับถ่ายออกมาโดยง่ายบางท่านนิยมซื้อยาระบายมารับประทาน ซึ่งยาพวกนี้จะทำให้ลำไส้ขับถ่ายอุจจาระออกมาด้วยกลไกต่าง ๆ กัน

อาการท้องผูก หมายถึง อาการที่มีความยากลำบากในการถ่ายอุจจาระ ต้องใช้เวลาในการถ่ายมาก มีการเบ่งถ่ายอุจจาระ ลักษณะอุจจาระแข็งมาก ถ่ายแล้วแต่ยังมีความรู้สึกว่าถ่ายยังไม่หมด หรือถ่ายยังไม่สุด หรือยังปวดท้องอยากถ่าย หรือเบ่งอยู่ตลอดเวลา ถ้าพิจารณาจากความถี่ของการถ่ายอุจจาระจะถือว่า ถ้าถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เรียกว่า มีอาการท้องผูก

การทำงานของทางเดินอาหาร เริ่มตั้งแต่อาหารถูกรับประทานเข้าไปทางปาก มีการบดเคี้ยวด้วยฟันจนเป็นชิ้นเล็ก ๆ และลงไปคลุกเคล้ากับน้ำย่อย ในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก อาหารจะมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ และจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิตต่อไป อาหารบางส่วนที่ร่างกายไม่สามารถจะดูดซึมไปใช้ได้ เรียกว่า กากอาหาร จะค่อย ๆ เคลื่อนตัวลงมาตามลำไส้เล็กเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ตอนต้น ในขณะนั้นกากอาหารส่วนใหญ ่จะอยู่ในสภาพค่อนข้างเหลว เพราะมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยมากพอควร ขณะที่กากอาหารส่วนนี้ผ่านจากลำไส้ใหญ่ส่วนต้น สู่ส่วนสุดท้ายก่อนจะถึงทวาร ลำไส้ก็จะดูดน้ำออกจากกากอาหารไปเรื่อย ๆ จนทำให้กากอาหารข้นเข้าทุกที จนจับกันเป็นก้อน เมื่อกากอาหารมารวมกันมากขึ้น จะทำให้ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายมีแรงบีบตัว ทำให้เรารู้สึกปวดอยากจะถ่าย และเกิดการขับถ่ายอุจจาระออกมานั่นเอง

ขบวนการย่อยอาหารจากต้นจนจบถึงขั้นสุดท้าย คือการถ่ายอุจจาระ จะกินเวลาประมาณ 1–3 วัน ซึ่งอัตราความเร็วนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารของแต่ละคน ชนิดของอาหาร และปริมาณของกากอาหารที่เหลือค้างในลำไส้ คนส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 1 วัน อุจจาระจะมาถึงลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง แต่ถ้าไม่มีการขับถ่ายออกมาตามเวลาปกติ อุจจาระที่ถูกเก็บในลำไส้ใหญ่ จะถูกดูดน้ำออกไปเรื่อย ๆ จนแห้งและแข็งมากขึ้นทุกที ทำให้อุจจาระออกด้วยความลำบาก นั่นคือเกิดอาการท้องผูก

สาเหตุ

อาการท้องผูก มีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่

  1. รับประทานอาหารที่มีกากน้อย หรือมีเส้นใยน้อยมาก
    เส้นใย คือ ส่วนประกอบของพืชผักต่าง ๆ ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยสลายให้เล็กลง และดูดซึมเอาไปใช้ในร่างกายได้ หลังจากกระบวนการย่อยอาหารเสร็จสิ้นแล้ว เส้นใยก็ยังคงค้างอยู่ในลำไส้ และเคลื่อนลงมาสู่ลำไส้ใหญ่ กลายเป็นอุจจาระต่อไป ถ้าคนรับประทานอาหารที่มีเส้นใยมาก อุจจาระก็จะมีปริมาณมากด้วย และทำให้เกิดความรู้สึกอยากถ่าย เมื่อกากอาหารและเส้นใยมาถึงลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ส่วนคนที่ไม่ค่อยรับประทานผักหรือผลไม้ รับประทานแต่ข้าว ขนม หมูต้ม ไข่เจียว จะมีกากอาหารที่เป็นอุจจาระในปริมาณน้อย จึงยังไม่สามารถกระตุ้นลำไส้ใหญ่ส่วนปลายให้เกิดการขับถ่ายได้ อุจจาระส่วนนั้นก็จะค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่ และถ้านานเข้า ก็จะแห้งและแข็งตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
  2. ดื่มน้ำในปริมาณน้อย
    น้ำดื่มถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ร่างกายของเราต้องใช้น้ำเพื่อเป็นส่วนประกอบของเลือด ของเซลล์ต่าง ๆ และทำให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้สูงอายุมักจะดื่มน้ำน้อย เนื่องจากศูนย์ที่กระตุ้นให้รู้สึกหิวน้ำทำงานไม่ค่อยดี ผู้สูงอายุจึงไม่ค่อยรู้สึกหิวน้ำ และในบางรายมีปัญหาเรื่องกลั้นปัสสาวะลำบากหรือกลั้นไม่อยู่ ผู้สูงอายุจะพยายามช่วยตัวเอง ด้วยการดื่มน้ำน้อยลง เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องปัสสาวะรด/ราด เมื่อร่างกายได้น้ำน้อย ไม่พอใช้ ก็จะพยายามดูดน้ำจากกากอาหารในลำไส้ออกมา ทำให้กากอาหารนั้นแข็งมากขึ้น ทำให้ถ่ายออกยาก เกิดอาการท้องผูกตามมา
  3. ไม่ได้ฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลา หรือกลั้นอุจจาระบ่อย ๆ ถ้าปวดเวลาไหนก็ไปถ่ายเวลานั้น บางครั้งเกิดปวดถ่าย แต่ไม่สามารถจะไปถ่ายได้ เช่น กำลังอยู่ในงานเลี้ยง หรืออยู่ในที่ที่ไม่มีห้องน้ำที่สะอาดพอ ทำให้ต้องกลั้นเอาไว้ บางท่านกำลังทำงานอดิเรกอยู่เพลิน ๆ ดูทีวีเพลิน ๆ ก็ไม่อยากลุกไปถ่าย ทำให้ท้องผูกได้
  4. การรับประทานยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ ถ้าหากท่านได้ยาชนิดใหม่มาจากแพทย์แล้วพบว่า ลำไส้ทำงานไม่เหมือนเดิม คงจะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาเปลี่ยนยาเป็นกลุ่มอื่น ๆ อย่าพยายามแก้ปัญหาด้วยการไปซื้อยาระบายมารับประทาน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุดยาที่พบว่าทำให้เกิดอาการท้องผูกได้บ่อย เช่น ยาแก้ไอและยาแก้ปวด ที่มีส่วนประกอบของอนุพันธ์จากฝิ่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดกรดที่มีส่วนประกอบของอลูมิเนียม และแคลเซียม ยาบำรุงเลือดที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็ก ยาต้านความเศร้า เป็นต้น
  5. โรคทางกายบางโรคอาจมีผลทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ เช่น คนไข้เบาหวานที่เป็นมานาน จนเกิดอาการแทรกซ้อน โดยระบบประสาทอัตโนมัติที่จะช่วยเรื่องการบีบตัวของลำไส้ทำงานไม่ค่อยดี ทำให้ประสิทธิภาพของลำไส้ ที่จะบีบตัวไล่กากอาหารลงมาที่ทวารหนักลดลง กากอาหารค้างอยู่ในลำไส้นานขึ้น ทำให้แห้งและแข็งตัวขึ้น โรคธัยรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ และภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ก็จะทำให้ท้องผูกได้เช่นกัน ในผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบประสาท  อัมพฤก อัมพาต ทำให้ไม่สามารถจะเดินได้อย่างปกติ หรือผู้สูงอายุที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวร่างกาย ได้แต่นั่ง ๆ นอน ๆ ตลอดเวลา จะทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ช้าลง และทำให้เกิดภาวะท้องผูกได้

ภาวะแทรกซ้อน

1.ท้องผูกอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความไม่สุขสบายในกระเพาะอาหาร ทวารหนัก

2.อาจทำให้เกิดภาวะลำไส้อุดตัน เกิดโรคริดสีดวงทวารได้

3.มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน

4.ทานอาหารได้น้อย

5.อาหารไม่ย่อยเกิน  มีอาเจียนในผู้สูงอายุที่ให้อาหารทางสายยาง

การดูแลรักษา

การรับประทานยาระบาย หรือการสวนทวารด้วยน้ำหรือน้ำยาเป็นประจำนั้น ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม แต่เราควรจะพยายามมองลักษณะการดำเนินชีวิตของเรา ว่ามีอะไรที่ควรจะแก้ไข ทำให้อาการท้องผูกดีขึ้นโดยไม่ต้องใช้ยา ดังนี้

  1. ปรับเปลี่ยนลักษณะการรับประทานอาหาร ควรมีการปรับแต่งอาหารของผู้สูงอายุให้ประกอบด้วยผัก และผลไม้มากขึ้น ถ้าผู้สูงอายุมีปัญหาเรื่องฟัน ควรเลือกผักที่นิ่ม เช่น ตำลึง ถั่วงอก ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว และปรุงให้นิ่ม ผักที่เป็นหัวหรือเป็นผล เช่น ไชเท้า ฟักเขียว น้ำเต้า ก็สามารถนำมาปรุงอาหารให้นิ่มได้โดยง่าย
  2. ดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ประมาณ 6 – 8 แก้วต่อวัน
  3. ฝึกการขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา และอย่ากลั้นอุจจาระ
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน
  5. บันทึกการขับถ่าย ในผู้ป่วยนอนติดเตียง

สรุป 

อาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตอยู่ การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ ได้

  • ประมาณครึ่งหนึ่งของพลังงานทั้งหมดควรมาจากคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน
  • เข้าใจเรื่องกรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว และเลือกให้ถูกต้อง
  • เพิ่มเส้นใยอาหาร จะช่วยสานเส้นใยชีวิต

By Sansiri Home Care


ศูนย์แลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์ การประเมินภาวะพร่องโภชนาการ

ภาวะโภชนาการหมายถึงอะไร
หมายถึง ผล สภาพ หรือภาวะของร่างกายที่เกิดจากการบริโภคอาหาร แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

1. ภาวะโภชนาการดี (good nutritional status) 

        ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ คือ มีสารอาหารครบถ้วน ในปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และร่างกายใช้สารอาหารเหล่านั้นในการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยได้อย่างมี ประสิทธิภาพเต็มที่

2. ภาวะโภชนาการไม่ดี (bad nutritional status) หรือภาวะทุพโภชนาการ (malnutrition) 

      ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับเพียงพอแต่ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสารอาหารที่ได้รับ หรือการได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกินความต้องการของร่างกาย จึงทำให้เกิดภาวะผิดปกติขึ้น

ภาวะโภชนาการไม่ดี แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. ภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ (under nutrition or nutritional deficiency)

         ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยอาจขาดสารอาหารเพียง 1 ชนิด หรือมากกว่า และอาจขาดพลังงานด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น โรคขาดโปรตีน(kwashiorkor)โรคขาดพลังงาน (marasmus)หรือโรคขาดโปรตีนและพลังงาน (marasmic-kwashiorkor) โรคที่เกิดจากการขาดวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ เช่น โรคเหน็บชา คอพอก
2.ภาวะโภชนาการเกิน (over nutrition)

        ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย และเก็บสะสมไว้จนเกิดอาการปรากฏ เช่น ได้รับสารอาหารที่ให้พลังงานมากเกินไปจะมีการสะสมไว้ในร่างกายในสภาพไขมัน ทำให้เกิดโรคอ้วน หรือการได้รับสารอาหารบางอย่างที่ขับถ่ายยากในปริมาณมากเกินไป จนมีการเก็บสะสมในร่างกาย และทำให้เกิดโทษ เช่น การได้รับวิตามิน เอ และ ดี มากเกินความต้องการของร่างกาย และร่างกายเก็บสะสมไว้ทำให้เกิดภาวะไฮเปอร์วิตามินโนซีส เอ และ ดี (hyper vitaminosis A และ D)

สนใจขอคำแนะนะเพิ่มเติม TLE.090-569-7945

http://www.ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ.com

http://www.sansirihomecare.com


Leave a comment

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริโฮมแคร์ สาขาแบริ่ง36

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮม แคร์ สาขาสาขาแบริ่ง 36ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ สาขาแบริ่ง 36 ดำเนินการเปิดให้บริการควบคู่กับศูนย์กายภาพบำบัดครบวงจร พร้อมเปิดให้บริการสำหรับผู้สูงอายุ ที่มีโรคประจำตัว ต้องทานยาต่อเนื่องและควบคุมอาหาร ทั้งเบาหวาน ความมดัน ทำกายภาพบำบัดในผู้สูงอายุที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวช่วยเหลือตัวเองได้น้อย โดยมีนักกายภาพบำบัดวิชาชีพ ดูแลต่อเนื่องทุกอาทิตย์ (วัน จ-ศ จะมีพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลทำกายภาพต่อเนื่องตามคำแนะนำของนักกายภาพวิชาชีพ) อากาศดี เป็นส่วนตัวอาคารชั้นเดียว พื้นที่ 400 ตรว. เป็นห้องแอร์ ทีวี น้ำอุ่น กว้าง โปร่ง บรรยากาศสวน ใกล้ BTSรูปแบบผู้รับบริการ1.ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย/ไม่ได้ เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

2.ผู้สูงอายุสมองเสื่อม(อัลไซเมอร์)

3.ผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือสมองตีบ ตัน แตก มีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง อัมพฤกษ์อัมพาต ฟื้นฟูกายภาพบำบัด

4.ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังเช่น เบาหวาน ความดัน ทานยาต่อเนื่องและควบคุมอาหาร

5.ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีแผลเบาหวาน รักษาแผลกดทับ

6.ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหลัง เข่า สะโพก พักฟื้นทำกายภาพบำบัด

7.ผู้ป่วยเจาะคอ ติดเตียง ให้อาหารทางสายยาง มีสายสวนปัสสาวะ

การบริการ

1. ผู้ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง

 2. การดูแลความสะอาดร่างกาย เสื้อผ้า ของใช้ส่วนตัว

 3.  อาหาร 3 มื้อ พร้อมอาหารว่าง(อาหารปั่นสำหรับผู้ให้อาหารทางสายยาง)  

4. กายภาพบำบัด 1 ครั้ง/วัน(โดยผู้ช่วยพยาบาลตามอาการผู้สูงอายุหรือผู้ป่วย)

5.ที่พักปรับอากาศพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องทำน้ำอุ่น ทีวี  

6.มีเตียงลม,ครื่องดูดเสมหะ ไม่คิดค่าบริการ ค่าไฟ

7.บริการกายภาพโดยบำบัดวิชาชีพ 1 ครั้ง/สัปดาห์(มีส่วนลดใช้บริการ”แสนสิริ คลีนิคกายภาพบำบัด”)

8.ไม่คิดค่าบริการ เปลี่ยสายสวนปัสสาวะ สายให้อาหาร ค่าทำแผลกดทับ 

9.ตรวจวัดสัญญาณชีพเช้า-เย็น,เจาะค่าน้ำตาล,วัดออกซิเจนในเลือด

อัตราค่าบริการดังกล่าว ไม่รวม ผ้าอ้อม แผ่นรอง สายดูดเสมหะ อุปกรณ์ทำแผล  ไม่คิดค่าบริการ กรณีเปลี่ยนสายปัสสาวะ สายให้อาหาร

สอบถาม-ติดต่อเยี่ยมชมสถานที่  02-041-3977,096-405-1562,090-569-7945

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม 2

Leave a comment

S__5292150

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ สาขาแบริ่ง17/5

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

แสนสิริ โฮม แคร์ ยินดีให้บริการทุกท่านทั้ง 4 สาขา

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ พักฟื้นหลังผ่าตัด ต้องการทำกายภาพบำบัด มีโรคประจำตัวที่ต้องดูแลทานยาต่อเนื่อง ควบคุมอาหารทั้งเบาหวาน ความดัน ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ มีแผลกดทับ ให้อาหารทางสายให้อาหาร ใส่สายสวนปัสสาวะ ดูดเสมหะ ด้วยประสบการณการดูแลมากว่า 10 ปี     สำหรับการดูแลผูสูงอายุและผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบสมอง อัมพฤก อัมพาต เรายินดีดูแลบุคคลในครอบครัวของท่าน

สาขาสุขุมวิท101/1 (TEL.090-569-7945)

สาขาบางนา-แบริ่ง 17 (TEL.096-405-1562)

สาขาพระราม2-อนามัยงามเจริญ23 (TEL.02-050-1900)

รายละเอียดการบริการ

1.การดูแลและพยาบาลทั่วไป 24 ชั่วโมง

2.ที่พักปรับอากาศพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องทำน้ำอุ่น ทีวี

3.อาหารหลัก 3 มื้อ อาหารว่าง 2 มื้อตามที่ผู้สูงอายุต้องการหรือสามรถทานได้ (ไม่เป็นผลเสียกับโรคประจำตัว)

4.ออกกำลังกายและกายภาพบำบัดพื้นฐาน โดยนักกายภาพ 2 ครั้ง/สัปดาห์

5.มีเตียงลม,ครื่องดูดเสมหะ ไม่คิดค่าบริการ ค่าไฟ(เป็นของที่เตรียมไว้ประจำศูนย์)

6.ความสะอาดเสื้อผ้าเครื่องนอน

7.ไม่คิดค่าบริการ เปลี่ยสายสวนปัสสาวะ สายให้อาหาร ค่าทำแผลกดทับ อัตราค่าบริการ เริ่มต้นที่ 15000/เดือน

(ผู้ป่วยให้อาหารทางสายให้อาหาร 18000/เดือน)

*อัตราค่าบริการไม่รวมค่าเวชภัณ 2000บาท/เดือน#เลือกเป็นแบบเหมาจ่ายหรือคิดตามจริงได้*/ค่ารถรับส่งกรณีใช้ส่งตัวไปโรงพยาบาล เช่น ค่ารถพยาบาล

เยี่ยมชมเวบไซ

www.sansirihomecare.com

https://bangkok-nursinghome.com/

www.nursingthailand.org

 


การประเมินภาวะพร่องโภชนาการ

S__14409730

ภาวะโภชนาการหมายถึงอะไร
หมายถึง ผล สภาพ หรือภาวะของร่างกายที่เกิดจากการบริโภคอาหาร แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

1. ภาวะโภชนาการดี (good nutritional status) 

        ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ คือ มีสารอาหารครบถ้วน ในปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และร่างกายใช้สารอาหารเหล่านั้นในการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยได้อย่างมี ประสิทธิภาพเต็มที่

2. ภาวะโภชนาการไม่ดี (bad nutritional status) หรือภาวะทุพโภชนาการ (malnutrition) 

      ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับเพียงพอแต่ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสารอาหารที่ได้รับ หรือการได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกินความต้องการของร่างกาย จึงทำให้เกิดภาวะผิดปกติขึ้น

ภาวะโภชนาการไม่ดี แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. ภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ (under nutrition or nutritional deficiency)

         ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยอาจขาดสารอาหารเพียง 1 ชนิด หรือมากกว่า และอาจขาดพลังงานด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น โรคขาดโปรตีน(kwashiorkor)โรคขาดพลังงาน (marasmus)หรือโรคขาดโปรตีนและพลังงาน (marasmic-kwashiorkor) โรคที่เกิดจากการขาดวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ เช่น โรคเหน็บชา คอพอก
2.ภาวะโภชนาการเกิน (over nutrition)

        ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย และเก็บสะสมไว้จนเกิดอาการปรากฏ เช่น ได้รับสารอาหารที่ให้พลังงานมากเกินไปจะมีการสะสมไว้ในร่างกายในสภาพไขมัน ทำให้เกิดโรคอ้วน หรือการได้รับสารอาหารบางอย่างที่ขับถ่ายยากในปริมาณมากเกินไป จนมีการเก็บสะสมในร่างกาย และทำให้เกิดโทษ เช่น การได้รับวิตามิน เอ และ ดี มากเกินความต้องการของร่างกาย และร่างกายเก็บสะสมไว้ทำให้เกิดภาวะไฮเปอร์วิตามินโนซีส เอ และ ดี (hyper vitaminosis A และ D)

สนใจขอคำแนะนะเพิ่มเติม TLE.090-569-7945

http://www.ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ.com


Leave a comment

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮม แคร์ สาขาแบริ่ง 17/5

พร้อมเปิดให้บริการเริ่มที่ 15000/เดือน

รายละเอียดการบริการ

1.การดูแลและพยาบาลทั่วไป 24 ชั่วโมง

2.ที่พักปรับอากาศพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องทำน้ำอุ่น ทีวี

3.อาหารหลัก 3 มื้อ อาหารว่าง 2 มื้อตามที่ผู้สูงอายุต้องการหรือสามรถทานได้ (ไม่เป็นผลเสียกับโรคประจำตัว)

4.ออกกำลังกายและกายภาพบำบัดพื้นฐาน โดยนักกายภาพ 2 ครั้ง/สัปดาห์

5.มีเตียงลม,ครื่องดูดเสมหะ ไม่คิดค่าบริการ ค่าไฟ(เป็นของที่เตรียมไว้ประจำศูนย์)

6.ไม่คิดค่าบริการ เปลี่ยนสายสวนปัสสาวะ สายให้อาหาร ค่าทำแผลกดทับ อัตราค่าบริการ เริ่มต้นที่ 15000/เดือน

(ผู้ป่วยให้อาหารทางสายให้อาหาร 17000/เดือน)

อัตราค่าบริการไม่รวมค่าเวชภัณ 2000บาท/เดือน#เลือกเป็นแบบเหมาจ่ายหรือคิดตามจริงได้

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม 

บ้านเลขที่ 4333 ถนนสุขุมวิท 107 ซอยแบริ่ง 17 ตำบลสำโรงเหนือ 

อำเภอเมืองสมทรปราการ  จังหวัดสมุทรปราการ 10270

คุณสุธัญญา


Leave a comment

ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุ

food

ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุ

 มิใช่ปัญหาที่พบเฉพาะในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่อยู่ในระดับกว้าง พบได้ในคนทุกเพศ ทุกวัย ส่วนใหญ่มักมีอาการที่ไม่รุนแรง ผู้ที่มีปัญหาท้องผูกมักจะดำเนินวิธีการแก้ไขในรูปแบบที่แตกต่างกันไป เช่น การหาอาหารหรือผลไม้บางชนิดมารับประทาน แล้วทำให้มีการถ่ายอุจจาระออกมา

ใช้ยาหรือน้ำสบู่สวนทวาร ทำให้อุจจาระนิ่มหรืออ่อนตัวลง แล้วทำให้ขับถ่ายออกมาโดยง่ายบางท่านนิยมซื้อยาระบายมารับประทาน ซึ่งยาพวกนี้จะทำให้ลำไส้ขับถ่ายอุจจาระออกมาด้วยกลไกต่าง ๆ กัน

อาการท้องผูก หมายถึง อาการที่มีความยากลำบากในการถ่ายอุจจาระ ต้องใช้เวลาในการถ่ายมาก มีการเบ่งถ่ายอุจจาระ ลักษณะอุจจาระแข็งมาก ถ่ายแล้วแต่ยังมีความรู้สึกว่าถ่ายยังไม่หมด หรือถ่ายยังไม่สุด หรือยังปวดท้องอยากถ่าย หรือเบ่งอยู่ตลอดเวลา ถ้าพิจารณาจากความถี่ของการถ่ายอุจจาระจะถือว่า ถ้าถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เรียกว่า มีอาการท้องผูก

การทำงานของทางเดินอาหาร เริ่มตั้งแต่อาหารถูกรับประทานเข้าไปทางปาก มีการบดเคี้ยวด้วยฟันจนเป็นชิ้นเล็ก ๆ และลงไปคลุกเคล้ากับน้ำย่อย ในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก อาหารจะมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ และจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิตต่อไป อาหารบางส่วนที่ร่างกายไม่สามารถจะดูดซึมไปใช้ได้ เรียกว่า กากอาหาร จะค่อย ๆ เคลื่อนตัวลงมาตามลำไส้เล็กเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ตอนต้น ในขณะนั้นกากอาหารส่วนใหญ ่จะอยู่ในสภาพค่อนข้างเหลว เพราะมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยมากพอควร ขณะที่กากอาหารส่วนนี้ผ่านจากลำไส้ใหญ่ส่วนต้น สู่ส่วนสุดท้ายก่อนจะถึงทวาร ลำไส้ก็จะดูดน้ำออกจากกากอาหารไปเรื่อย ๆ จนทำให้กากอาหารข้นเข้าทุกที จนจับกันเป็นก้อน เมื่อกากอาหารมารวมกันมากขึ้น จะทำให้ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายมีแรงบีบตัว ทำให้เรารู้สึกปวดอยากจะถ่าย และเกิดการขับถ่ายอุจจาระออกมานั่นเอง

ขบวนการย่อยอาหารจากต้นจนจบถึงขั้นสุดท้าย คือการถ่ายอุจจาระ จะกินเวลาประมาณ 1–3 วัน ซึ่งอัตราความเร็วนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารของแต่ละคน ชนิดของอาหาร และปริมาณของกากอาหารที่เหลือค้างในลำไส้ คนส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 1 วัน อุจจาระจะมาถึงลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง แต่ถ้าไม่มีการขับถ่ายออกมาตามเวลาปกติ อุจจาระที่ถูกเก็บในลำไส้ใหญ่ จะถูกดูดน้ำออกไปเรื่อย ๆ จนแห้งและแข็งมากขึ้นทุกที ทำให้อุจจาระออกด้วยความลำบาก นั่นคือเกิดอาการท้องผูก

สาเหตุ

อาการท้องผูก มีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่

  1. รับประทานอาหารที่มีกากน้อย หรือมีเส้นใยน้อยมาก
    เส้นใย คือ ส่วนประกอบของพืชผักต่าง ๆ ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยสลายให้เล็กลง และดูดซึมเอาไปใช้ในร่างกายได้ หลังจากกระบวนการย่อยอาหารเสร็จสิ้นแล้ว เส้นใยก็ยังคงค้างอยู่ในลำไส้ และเคลื่อนลงมาสู่ลำไส้ใหญ่ กลายเป็นอุจจาระต่อไป ถ้าคนรับประทานอาหารที่มีเส้นใยมาก อุจจาระก็จะมีปริมาณมากด้วย และทำให้เกิดความรู้สึกอยากถ่าย เมื่อกากอาหารและเส้นใยมาถึงลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ส่วนคนที่ไม่ค่อยรับประทานผักหรือผลไม้ รับประทานแต่ข้าว ขนม หมูต้ม ไข่เจียว จะมีกากอาหารที่เป็นอุจจาระในปริมาณน้อย จึงยังไม่สามารถกระตุ้นลำไส้ใหญ่ส่วนปลายให้เกิดการขับถ่ายได้ อุจจาระส่วนนั้นก็จะค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่ และถ้านานเข้า ก็จะแห้งและแข็งตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
  2. ดื่มน้ำในปริมาณน้อย
    น้ำดื่มถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ร่างกายของเราต้องใช้น้ำเพื่อเป็นส่วนประกอบของเลือด ของเซลล์ต่าง ๆ และทำให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้สูงอายุมักจะดื่มน้ำน้อย เนื่องจากศูนย์ที่กระตุ้นให้รู้สึกหิวน้ำทำงานไม่ค่อยดี ผู้สูงอายุจึงไม่ค่อยรู้สึกหิวน้ำ และในบางรายมีปัญหาเรื่องกลั้นปัสสาวะลำบากหรือกลั้นไม่อยู่ ผู้สูงอายุจะพยายามช่วยตัวเอง ด้วยการดื่มน้ำน้อยลง เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องปัสสาวะรด/ราด เมื่อร่างกายได้น้ำน้อย ไม่พอใช้ ก็จะพยายามดูดน้ำจากกากอาหารในลำไส้ออกมา ทำให้กากอาหารนั้นแข็งมากขึ้น ทำให้ถ่ายออกยาก เกิดอาการท้องผูกตามมา
  3. ไม่ได้ฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลา หรือกลั้นอุจจาระบ่อย ๆ ถ้าปวดเวลาไหนก็ไปถ่ายเวลานั้น บางครั้งเกิดปวดถ่าย แต่ไม่สามารถจะไปถ่ายได้ เช่น กำลังอยู่ในงานเลี้ยง หรืออยู่ในที่ที่ไม่มีห้องน้ำที่สะอาดพอ ทำให้ต้องกลั้นเอาไว้ บางท่านกำลังทำงานอดิเรกอยู่เพลิน ๆ ดูทีวีเพลิน ๆ ก็ไม่อยากลุกไปถ่าย ทำให้ท้องผูกได้
  4. การรับประทานยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ ถ้าหากท่านได้ยาชนิดใหม่มาจากแพทย์แล้วพบว่า ลำไส้ทำงานไม่เหมือนเดิม คงจะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาเปลี่ยนยาเป็นกลุ่มอื่น ๆ อย่าพยายามแก้ปัญหาด้วยการไปซื้อยาระบายมารับประทาน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุดยาที่พบว่าทำให้เกิดอาการท้องผูกได้บ่อย เช่น ยาแก้ไอและยาแก้ปวด ที่มีส่วนประกอบของอนุพันธ์จากฝิ่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดกรดที่มีส่วนประกอบของอลูมิเนียม และแคลเซียม ยาบำรุงเลือดที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็ก ยาต้านความเศร้า เป็นต้น
  5. โรคทางกายบางโรคอาจมีผลทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ เช่น คนไข้เบาหวานที่เป็นมานาน จนเกิดอาการแทรกซ้อน โดยระบบประสาทอัตโนมัติที่จะช่วยเรื่องการบีบตัวของลำไส้ทำงานไม่ค่อยดี ทำให้ประสิทธิภาพของลำไส้ ที่จะบีบตัวไล่กากอาหารลงมาที่ทวารหนักลดลง กากอาหารค้างอยู่ในลำไส้นานขึ้น ทำให้แห้งและแข็งตัวขึ้น โรคธัยรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ และภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ก็จะทำให้ท้องผูกได้เช่นกัน ในผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบประสาท  อัมพฤก อัมพาต ทำให้ไม่สามารถจะเดินได้อย่างปกติ หรือผู้สูงอายุที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวร่างกาย ได้แต่นั่ง ๆ นอน ๆ ตลอดเวลา จะทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ช้าลง และทำให้เกิดภาวะท้องผูกได้

ภาวะแทรกซ้อน

1.ท้องผูกอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความไม่สุขสบายในกระเพาะอาหาร ทวารหนัก

2.อาจทำให้เกิดภาวะลำไส้อุดตัน เกิดโรคริดสีดวงทวารได้

3.มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน

4.ทานอาหารได้น้อย

5.อาหารไม่ย่อยเกิน  มีอาเจียนในผู้สูงอายุที่ให้อาหารทางสายยาง

การดูแลรักษา

การรับประทานยาระบาย หรือการสวนทวารด้วยน้ำหรือน้ำยาเป็นประจำนั้น ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม แต่เราควรจะพยายามมองลักษณะการดำเนินชีวิตของเรา ว่ามีอะไรที่ควรจะแก้ไข ทำให้อาการท้องผูกดีขึ้นโดยไม่ต้องใช้ยา ดังนี้

  1. ปรับเปลี่ยนลักษณะการรับประทานอาหาร ควรมีการปรับแต่งอาหารของผู้สูงอายุให้ประกอบด้วยผัก และผลไม้มากขึ้น ถ้าผู้สูงอายุมีปัญหาเรื่องฟัน ควรเลือกผักที่นิ่ม เช่น ตำลึง ถั่วงอก ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว และปรุงให้นิ่ม ผักที่เป็นหัวหรือเป็นผล เช่น ไชเท้า ฟักเขียว น้ำเต้า ก็สามารถนำมาปรุงอาหารให้นิ่มได้โดยง่าย
  2. ดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ประมาณ 6 – 8 แก้วต่อวัน
  3. ฝึกการขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา และอย่ากลั้นอุจจาระ
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน
  5. บันทึกการขับถ่าย ในผู้ป่วยนอนติดเตียง

สรุป 

อาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตอยู่ การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ ได้

  • ประมาณครึ่งหนึ่งของพลังงานทั้งหมดควรมาจากคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน
  • เข้าใจเรื่องกรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว และเลือกให้ถูกต้อง
  • เพิ่มเส้นใยอาหาร จะช่วยสานเส้นใยชีวิต

By Sansiri Home Care

Verified by MonsterInsights