ภาวะโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ
โรคกระดูกพรุนเป็นภาวะที่มวลกระดูกลดลงและโครงสร้างการเรียงตัวภายในของกระดูกมีการเปลี่ยนแปลงและเสื่อมไป ซึ่งจะทาให้กระดูกเปราะบางและเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก
บุคคลที่เสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน ได้แก่ บุคคลที่ ใช้สเตอรอยด์ในรักษาโรคเป็นระยะเวลานาน มีโรคตับหรือไทรอยด์ มีดรรชนีมวลกายน้อยกว่า19 กิโลกรัม/เมตร2 สูบบุหรี่ มีประวัติล้มบ่อย

ศูนย์แลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์
สาเหตุของโรค
1การไม่ได้รับแคลเซียมที่เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กและวัยหนุ่มสาว ทำให้มวลกระดูกไม่หนาแน่น และกระดูกพรุนได้ง่าย
2.กรรมพันธุ์ ซึ่งมีโอกาสเป็นสูงถึง 80% ส่วน 20% นั้นขึ้นอยู่กับลักษณะในการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย
3.การทานยาแก้โรคบางอย่างที่นำไปสู่การลดความหนาแน่นของกระดูก เช่น คอร์ติโซนยาแก้โรคหืดยาเฮปาริน การรักษาโดยการฉายรังสี หรือการให้สารเคมี เป็นต้น
4.การสูบบุหรี่ และดื่มสุราเป็นประจำ
5.การดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เช่น กาแฟ น้ำอัดลม ชา เป็นต้น ทำให้กระดูกเสื่อมง่ายขึ้น
6.การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนของหญิงวัยหมดประจำเดือน ทำให้ประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลง เป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น

ศูนย์แลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์
7.การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำในวัยชรา ทำให้การดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลง เป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น
8.การสูญเสียแคลเซียม ผ่านทางผิวหนัง ปัสสาวะและอุจจาระ และไม่ได้รับการทดแทนเพื่อรักษาระดับแคลเซียมในกระดูก
9.การไม่เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกาย เมื่อวัยชราโรคกระดูดพรุนเกิดขึ้นรุนแรง ถ้าขาดการออกกำลังกาย และการสูญเสียความแข็งแรงของกระดูก มักเกิดขึ้นในช่วงที่ไม่ได้เคลื่อนไหว เช่น ในขณะนั่งรถเข็น หรือนอนพักฟื้น
10.ขาดวิตามินดี เพราะในวิตามินดีมีความจำเป็นในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ
การป้องกันภาวะกระดูกพรุน
1. ออกกำลังกายเป็นกิจวัตร โดยเฉพาะกลางแจ้งตอนที่มีแดดอ่อน เช่น เวลาเช้า หรือเย็น
2. เมื่อมีความเจ็บป่วยไม่ว่าจากสาเหตุใด ควรรีบทำกายภาพบำบัด หรือเคลื่อน ไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้เร็วที่สุดเท่าที่สภาพร่างกายจะเอื้ออำนวย
3. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลากระป๋อง ซึ่งสามารถรับประทาน กระดูกปลาได้ หรือดื่มนมพร่องไขมันเนย ผักผลไม้ เป็นต้น
4. งดการดื่มสุรา และสูบบุหรี่
5. ไม่ควรซื้อยารับประทาน เช่น ยาลูกกลอน เพราะมักจะมีสารเสตียรอยด์ผสมอยู่ ทำให้กระดูกพรุนได้โดยไม่รู้ตัว
โรคกระดูกพรุน ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้อยลง และมักมีอาการเจ็บป่วยได้ง่าย ดังนั้น จึงควร ดูแลผู้สูงอายุ ป้องกันเอาไว้ก่อนที่จะสายเกินไปนะคะ
ความรู้โดยนักกายภาพบำบัด นางสาวพิมพ์ธัญญา หมันเทศมัน ก.11044